วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ ๒  อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง





แนวคิด
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  

ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
       สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง
        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก

ลักษณะคำประพันธ์
     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือน อ่านเพิ่มเติม...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น